0G อนาคตของสมาร์ทซิตี้
ปกติเรามักจะคุ้นเคยกับโครงข่าย 2G/3G/4G หรือ 5G ยิ่งตัวเลขมากขึ้นเท่าไหร่ ยิ่งดูทันสมัยมากขึ้น เท่านั้น แต่ความจริงแล้วยังมีโครงข่ายที่เรียกว่า “0G” ซึ่งเป็นโครงข่ายมหัศจรรย์ ที่กว่า 72 ประเทศทั่วโลกยอมรับและนำมาใช้ช่วยยกระดับการพัฒนาประเทศ เพิ่มศักยภาพให้กับภาคธุรกิจอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ผ่านมาผมจึงมักจะถูกสอบถามจากผู้ประกอบการหลายรายว่า “ทำไมเราถึงพัฒนา Internet of Things (IoT) บน โครงข่ายของ 0G และ 0G ดีกว่าโครงข่ายอื่นอย่างไร?”
เวลาเจอคำถามนี้ ผมมักจะเปรียบเทียบประสิทธิภาพของแต่ละโครงข่ายกับรถบนถนน ถ้าตัวเลขยิ่งสูง เท่าไหร่ ก็คือรถที่มีสมรรถนะสูง ขับได้เร็ว หรือสามารถขนสัมภาระได้มาก แต่ข้อเสียก็คือกินน้ำมันมาก โครงข่าย 0G ผมจะเปรียบกับรถจักรยานยนต์ที่อาจจะวิ่งช้ากว่ารถขนของ บรรทุกสัมภาระได้น้อยกว่า แต่มีความคล่องตัวกว่า และประหยัดน้ำมันมากกว่า ซึ่งถ้าเราเลือกรถหรูประสิทธิภาพสูง เราก็ต้องลงทุนสูงตามไปด้วย ขณะที่การใช้งานจริงต้องการรถมอเตอร์ไซค์ที่ลงทุนก็น้อยกว่าและยังตอบโจทย์การใช้งานได้ดีมากกว่า
เหมือนกับการลงทุนโครงข่าย ความถี่ยิ่งสูง ยิ่งต้องลงทุนมาก ทั้งที่การรับส่งข้อมูลนั้น ไม่จำเป็น ต้องใช้คลื่นความถี่สูงเหล่านั้นเลย คลื่นความถี่ต่ำแบบ 0G กลับตอบโจทย์กว่า เพราะมีความเสถียร และปลอดภัยสูง อีกทั้งมีข้อจำกัดในการรับ-ส่งข้อมูลน้อยกว่าแต่ครอบคลุมพื้นที่ได้มากกว่า
ลักษณะการทำงานของโครงข่าย 0G คือ อุปกรณ์ IoT จะส่งสัญญาณข้อมูลไปที่ base station ใน sleep mode จึงปิดช่องโหว่ป้องกันการถูกเจาะระบบจากแฮกเกอร์ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้สัญญาณที่ถ่ายทอดผ่านโครงข่าย 0G จะไม่เชื่อมต่อกันตลอดเวลา ระบบจึงไม่อ่อนไหวกับการถูกโจมตีจากคนนอก ข้อดีอีกอย่างคือ 0G ใช้พลังงานน้อยมาก ดังนั้นอายุการใช้งานของแบตเตอรี่อุปกรณ์ IoT จึงอยู่ได้นานเป็นปี ๆ โดยไม่ต้องเปลี่ยนบ่อย

0G คืออนาคตของสมารท์ซิตี้
สำหรับประเทศไทย รัฐบาลได้วางนโยบายขับเคลื่อนประเทศ เพื่อมุ่งสู่ผู้นำด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในภูมิภาค จากข้อมูลสำนักงานเมืองอัจฉริยะประเทศไทย ระบุเป้าหมายไว้ว่าภายในปี 2564 จะขยายเมืองอัจฉริยะให้ได้กว่า 60 เมืองใน 30 จังหวัด โดยมีปัจจัยสำคัญสู่ความสำเร็จ ไม่ว่าจะเป็น ระบบการเชื่อมโยง การสื่อสารทั่วถึง มีอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงที่เพียงพอต่อการใช้งาน รวมถึง IoT และระบบเซ็นเซอร์มาเชื่อมต่อระหว่างโครงสร้างทางกายภาพกับโครงสร้างทางดิจิทัล รับส่งและรวบรวมข้อมูลจากส่วนต่างๆ มาทำการวิเคราะห์ประมวลผลแบบอัตโนมัติ และนำไปบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ ที่มีอยู่ให้ใช้งานได้อย่างคุ้มค่ามากขึ้น สร้างประโยชน์ต่อประชากรที่อาศัยอยู่มากยิ่งขึ้น
เมืองอัจฉริยะ จะต้องใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ชาญฉลาด และเพื่อเอาชนะอุปสรรคดังกล่าว องค์กรปกครองท้องถิ่นที่ต้องนำโซลูชัน IoT มาใช้จำเป็นต้องพิจารณาเรื่องเครือข่ายและเทคโนโลยี โดยต้องวางแผนลงทุนเพื่อวันข้างหน้า คำนึงถึงการบริหารค่าใช้จ่าย และอีกปัจจัยสำคัญคือด้านความปลอดภัยระดับสูงสุด ซึ่งตัวเลือกหนึ่งที่สามารถตอบโจทย์ครบครัน คือ เครือข่าย 0G
การเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT เข้ากับเครือข่าย 0G มีความโดดเด่นที่สามารถส่งข้อความขนาดสั้นได้อย่างต่อเนื่องช่วยให้หน่วยงานรับผิดชอบของเมืองอัจฉริยะจัดเก็บข้อมูลเชิงลึกที่สามารถนำไปช่วยตัดสินใจในการบริหารจัดการเมืองด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าตัวเลือกเครือข่ายรูปแบบเดิมอย่างมาก นอกจากนี้ เครือข่าย 0G ใช้พลังงานในการรับส่งข้อมูลต่ำ จึงมีอายุการใช้งานแบตเตอรี่ที่ยาวนานขึ้นและไม่จำเป็นต้องบำรุงรักษาเป็นประจำ ส่งผลให้อุปกรณ์ทำงานได้อย่างราบรื่นและประหยัดค่าใช้จ่ายทั้งระบบ
เครือข่าย 0G ยังถูกออกแบบสำหรับใช้กับอุปกรณ์ IoT มีโซลูชัน และชุดอุปกรณ์เซ็นเซอร์สำเร็จที่หลากหลาย เหมาะสมพร้อมใช้งานเพื่อพัฒนาเมืองอัจฉริยะ และสามารถใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้ในการช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของพลเมือง เช่น การบริหารจัดการของเสียในชุมชน ไปจนถึง สมาร์ทโซลูชั่นเรื่องความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ยังสามารถปรับใช้กับแพลตฟอร์มการทำงานที่หลากหลายไม่ว่าเป็นด้านบริการสุขภาพ เกษตรกรรม พลังงาน หรือระบบขนส่งและโลจิสติสก์ ซึ่งสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของการเป็นเมืองอัจฉริยะ
ด้านความปลอดภัยของข้อมูล เครือข่าย 0G ใช้รูปแบบการสื่อสารทางเดียว โดยเมื่ออุปกรณ์ IoT ส่งข้อมูลไปยังสถานีฐานแล้วตัวอุปกรณ์จะเข้าสู่โหมดสลีป (sleep mode) ทันที ต่างจากระบบการสื่อสารแบบสองทางที่มักจะปรากฎหน้าต่างขนาดเล็กซึ่งเปิดโอกาสให้แฮกเกอร์สามารถเจาะเข้าไปในเครือข่ายและเข้าควบคุมอุปกรณ์ได้
ปัจจุบันโครงข่ายบริการ (Base Station) ของ 0G ครอบคลุมทั่วประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และจังหวัดต่างๆ ในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ตามแผนยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0

สมาร์ทซิตี้ในหลายๆ ประเทศก็ใช้โครงข่าย 0G ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพลเมือง ยกตัวอย่างเช่น ประเทศสเปน มีการติดตั้งอุปกรณ์ IoT กับไฟบนถนน ทำให้รัฐบาลสามารถเก็บข้อมูลการใช้ไฟ เพื่อนำมาใช้ ในการวางแผนการใช้ไฟให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงวางแผนการซ่อมบำรุงในแต่ละจุดล่วงหน้า โดยระบบ อัตโนมัติ
ประเทศอังกฤษ มีการติดตั้งเซ็นเซอร์เพื่อแจ้งเตือนการรั่วไหลของน้ำในบ้านและตึกต่างๆ ทำให้การบริหารจัดการน้ำมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น หรือประเทศเดนมาร์ก นำเซ็นเซอร์ไปติดตั้งกับถังขยะสาธารณะ เมื่อถังขยะเต็มก็จะส่งข้อมูลแจ้งเตือน ทำให้ระบบการบริหารจัดการขยะดีขึ้น สภาพแวดล้อมสะอาด ส่งผลให้ พลเมืองมีสุขอนามัยที่ดีขึ้นอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม IoT จะสามารถแสดงศักยภาพได้เต็มที่ ก็ต่อเมื่อมีการใช้งาน ในสเกลที่ใหญ่ และมี ประสิทธิภาพมากพอ หากเจ้าหน้าที่รัฐเลือกที่จะพัฒนาสมาร์ทซิตี้บนโครงข่าย 0G จะสามารถใช้เม็ดเงินลงทุน น้อยกว่าโครงข่ายอื่นหลายเท่า มีความปลอดภัยสูงกว่า อีกทั้งตัวอุปกรณ์เซ็นเซอร์ก็สามารถติดตั้งง่าย และทุกคนสามารถเรียนรู้การใช้งานได้อย่างรวดเร็ว
ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ คงไม่มีใครปฏิเสธแล้วว่า 0G คือหัวใจของ IoT และการพัฒนาสมาร์ทซิตี้ ได้อย่างแท้จริง โดย บริษัท ติงส์ ออน เน็ต จำกัด ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้าน IoT มองว่า เครือข่าย 0G เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ให้เต็มรูปแบบ ภายใต้นโยบาย Thailand 4.0 ที่มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนคนไทยให้ดีขึ้น
เกี่ยวกับ Things on Net
บริษัท ติงส์ ออน เน็ต จำกัด (TON) ผู้นำไอโอทีโซลูชันครบวงจรด้วยโครงข่ายเทคโนโลยีสื่อสารชั้นนำระดับโลก ให้บริการครอบคลุมการให้คำปรึกษา การกำหนดกลยุทธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลด้านไอโอที รองรับการใช้งานอุปกรณ์และบริการ Internet of Things อย่างเต็มรูปแบบ เพิ่มขีดความสามารถให้กับหลากหลายอุตสาหกรรม ทุกธุรกิจตั้งแต่ B2B จนถึง B2C โดยยึดหลักการสร้างประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ ทั้งการใช้ชีวิตของคนในสังคม และสิ่งแวดล้อม ติงส์ ออน เน็ต เป็นผู้ถือสิทธิ์การให้บริการโครงข่ายซิกฟอกส์ (Sigfox) แต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย ด้วยเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายระยะไกลที่ใช้พลังงานในการรับส่งข้อมูลต่ำ (Low Power Wide Area Network: LPWAN) โดยมีเครือข่ายครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 72 ประเทศทั่วโลก
ติงส์ ออน เน็ต ให้บริการทุกภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ด้วยโซลูชันและอุปกรณ์ไอโอทีคุณภาพสูงพร้อมใช้งาน อาทิ Smart City & Smart Building ระบบเมืองอัจฉริยะและอาคารอัจฉริยะที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ผู้อยู่อาศัย, Smart Farming การเกษตรอัจฉริยะ, Asset Tracking Management ระบบการติดตามสถานะสินทรัพย์ต่างๆ เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการการจัดเก็บและขนย้าย, Safety and Environment System ระบบตรวจวัดคุณภาพอากาศและสภาพแวดล้อมต่างๆ เพื่องานด้านความปลอดภัย ป้องกันภัยพิบัติ รวมถึงระบบ SOS ขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน, Energy Saving ช่วยบริหารจัดการการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า, Facility Management การบริการ การจัดการระบบสาธารณูปโภค, Supply Chain / Cold Chain Management ระบบการบริหารจัดการการขนส่ง / ระบบตรวจวัดอุณหภูมิ ความชื้นสำหรับภาคการเกษตร ปศุสัตว์ ตลอดจนคลังสินค้า ตู้แช่สินค้า ทั้งแบบแช่เย็นและแช่แข็ง ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อให้สินค้าคงคุณภาพความสดใหม่ ช่วยลดต้นทุนสูงสุดได้
วันนี้ Things on Net พร้อมให้บริการในหลายพื้นที่สำคัญเชิงธุรกิจ ในราคาเริ่มต้นเพียง 490 บาท/เดือน สนใจติดต่อ 02-091-1230
Things on Net ผู้นำ IoT Solutions ครบวงจรด้วยโครงข่ายเทคโนโลยีสื่อสารชั้นนำระดับโลก #ThingsonNet #TON #IoT #IoTSolutions #0GNetwork #Technology #Sigfox
สอบถามข้อมูล IoT Solutions เพิ่มเติมได้ที่
Contact Center : 02-091-1230
Line ID : https://lin.ee/gAoJGrh
Website : https://thingsonnet.net
Facebook : www.facebook.com/ThingsonNet
LinkedIn : www.linkedin.com/company/things-on-net
YouTube : www.youtube.com/channel/UCUeo3GAjQdN_0FEUScln0kA